ปฏิสัมภิทาญาณ
ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สัทธินทรีย์ ชื่อว่า ธรรม
วิริยินทรีย์ ชื่อว่า ธรรม
สตินทรีย์ ชื่อว่า ธรรม
สมาธินทรีย์ ชื่อว่า
ธรรม
ปัญญินทรีย์ ชื่อว่า
ธรรม
สัทธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง วิริยินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สตินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง สมาธินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
ปัญญินทรีย์เป็นธรรมอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่น้อมใจเชื่อ
(สัทธินทรีย์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่ประคองไว้
(วิริยินทรีย์) ชื่อว่า
อรรถ
สภาวะที่ตั้งมั่น
(สตินทรีย์) ชื่อว่า
อรรถ
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
(สมาธินทรีย์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่เห็น (ปัญญินทรีย์) ชื่อว่า
อรรถ
สภาวะที่น้อมใจเชื่อเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ประคองไว้เป็นอรรถอย่างหนึ่ง
สภาวะที่ตั้งมั่นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่านเป็นอรรถอย่างหนึ่ง สภาวะที่เห็นเป็นอรรถอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
เพราะเหตุนั้นปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงธรรม 5 ประการ ธรรมนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
เพราะเหตุนั้น ปัญญาในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๕
ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๐ ประการ ญาณในธรรม
เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถ
เป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติ
เป็นอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้ญาณต่าง
ๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่าง ๆ เหล่านี้
ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น
ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
วิริยสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
ปีติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
สมาธิสัมโพชฌงค์
ชื่อว่า ธรรม
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ธรรม
พระโยคาวจรรู้ธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะธรรมต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ
สภาวะที่ตั้งมั่น
(สติสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่เลือกเฟ้นธรรม
(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่ประคองไว้
(วิริยสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่แผ่ไป (ปีติสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่สงบ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)
ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่ไม่ฟุ้งซ่าน
(สมาธิสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
สภาวะที่พิจารณา
(อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ชื่อว่า อรรถ
พระโยคาวจรรู้อรรถต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะอรรถต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ
การระบุพยัญชนะ
และนิรุตติเพื่อแสดงธรรม ๗ ประการ ธรรมนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง อรรถนิรุตติ เป็นอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้นิรุตติต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะนิรุตติต่างๆ เหล่านี้ ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่า
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ
ญาณในธรรม ๗
ประการ ญาณในอรรถ ๗ ประการ ญาณในนิรุตติ ๑๔ ประการ ญาณในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในอรรถเป็นอย่างหนึ่ง ญาณในนิรุตติเป็นอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจรรู้ญาณต่างๆ
เหล่านี้ด้วยญาณใด เป็นอันรู้เฉพาะญาณต่างๆ เหล่านี้ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น