เหตุแห่งการตั้งชื่อ
ของธรรมแต่ละหมวดหมู่
ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่
ชื่อว่า พละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว
ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก
ชื่อว่า มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ
ชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น
ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้
ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ
ชื่อว่า สัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้
ชื่อว่า สมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น
ชื่อว่า สมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ
เป็นรสอย่างเดียวกัน
ชื่อว่า ธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะ
ไม่ล่วงเลยกัน
ชื่อว่า สีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม
ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น
ชื่อว่า วิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น
ชื่อว่า วิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง
ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ
ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะ
ตัดขาด
ชื่อว่า อนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น)
เพราะมีสภาวะสงบระงับ
ชื่อว่า ฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล
ชื่อว่า มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็น
สมุฏฐาน
ชื่อว่า ผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา
ชื่อว่า เวทนา เพราะมีสภาวะประชุมกัน
ชื่อว่า สมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน
ชื่อว่า สติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่
ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรม
ยิ่งกว่าธรรมนั้น
ชื่อว่า วิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร
ธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด
ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว
ธรรมนั้นๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่า ญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น
ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น