วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การแห่งสมถะและวิปัสสนา



การแห่งสมถะและวิปัสสนา

      ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ  เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา ตามพระพุทธดำรัส

      "โยคีใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง) ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล  ตั้งจิตให้มั่นในกาล เพ่งดูจิตตามกาล  โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล  กายยกจิตควรมีในกาลไหน การข่มจิตควรมีในกาลไหน"


ความตรึก ๙ อย่าง



ความตรึก ๙ อย่าง

ภิกษุพึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
ความตรึก ๙ อย่าง คือ
๑. ความตรึกใน กาม
๒. ความตรึกใน ความพยาบาท
๓. ความตรึกใน ความเบียดเบียน
๔. ความตรึกถึง ญาติ
๕. ความตรึกถึง ชนบท
๖. ความตรึกถึง เทพเจ้า
๗. ความตรึก เกี่ยวเนื่องด้วยความเอ็นดูผู้อื่น
๘. ความตรึก เกี่ยวเนื่องด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ 
๙. ความตรึก เกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น

ความคะนอง หรือกิริยาที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต  ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
๑. เพราะทำ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ 
๒. เพราะไม่ได้ทำ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ และมโนสุจริต ๓ 

มหานรก



มหานรก

ภิกษุทั้งหลาย !  ความกลัวเกิดจากโทษของตน ได้แก่ การประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓ ย่อมนำเขาไปสู่มหานรก

มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก  มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
มหานรกอันน่าสยดสยอง แผดเผาสัตว์ให้มีทุกข์ร้ายแรง มีเปลวไฟเข้าใกล้ได้ยาก น่าขนลุก น่าพรั่นพรึง น่ากลัว น่าเป็นทุกข์
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านเหนือ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านใต้ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ
กองไฟอันน่าสพึงกลัว ผุดขึ้นมาจากด้านล่าง แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม(ลุกท่วม) ติดหลังคา
กองไฟอันน่าสพึงกลัว ผุดขึ้นมาจากหลังคา แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม(ลุกท่วม) กระทบถึงพื้น
อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่าง ข้างบน ด้านข้าง ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ
สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ  เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย

ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย
สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางใต้
วิ่งไปทางทิศใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้นมีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหาทางออกอยู่เสมอ
สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะเหล่านั้นทำกรรมชั่วไว้มาก ยังให้ผลไม่หมดสิ้น


เสนามาร ๑๐ กอง



เสนามาร ๑๐ กอง

ภิกษุทั้งหลาย !  ผู้มีปัญญานั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่ได้เห็น  เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง เสนามาร ๑๐ กอง คือ
เสนามารกองที่ ๑  คือ กิเลสกาม
เสนามารกองที่ ๒  คือ ความไม่ยินดี
เสนามารกองที่ ๓  คือ ความหิวกระหาย
เสนามารกองที่ ๔  คือ ตัณหา
เสนามารกองที่ ๕  คือ ถีนมิทธะ(ความหดหู่,ง่วงเหงาซึมเซา)
เสนามารกองที่ ๖  คือ ความกลัว
เสนามารกองที่ ๗  คือ วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)
เสนามารกองที่ ๘  คือ มักขะ(ลบหลู่คุณท่าน) และถัมภะ(หัวดื้อ)
เสนามารกองที่ ๙  คือ ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิดๆ
เสนามารกองที่ ๑๐ คือ การยกตนข่มผู้อื่น


การนอน ๔ ประการ



การนอน ๔ ประการ

    ภิกษุทั้งหลาย ! การนอน ๔ ประการนี้ มีอะไรบ้าง

๑. นอนอย่างคนตาย  เป็นอย่างไร  ส่วนมากคนตายนอนหงาย นี้เรียกว่า นอนอย่างคนตาย  
๒. นอนอย่างคนบริโภคกาม เป็นอย่างไร  ส่วนมากคนบริโภคกามย่อมนอนตะแคงซ้าย  นี้เรียกว่า นอนอย่างคนบริโภคกาม
๓. นอนอย่างราชสีห์ เป็นอย่างไร  พญาราชสีห์ย่อมสำเร็จการนอนตะแคงขวา ซ้อนเท่าเลื่อมเท้า  สอดหางเข้าไปในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นยืดกายส่วนหน้าแล้วเหลียวดูกายส่วนหลัง ถ้ามันเห็นกายผิดแปลกหรือไม่ปกติอย่างไรไป  มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น แต่ถ้าไม่เห็นอะไรผิดปกติ   มันย่อมดีใจด้วยเหตุนั้น  นี้เรียกว่า นอนอย่างราชสีห์
๔. นอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไร ตถาคตในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า นอนอย่างตถาค