ปฏิปทาพิจารณาเห็นความไม่งาม
ในกาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทา ๔ ประการนี้
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
มีสัญญา(ความจำได้หมายรู้) ว่าปฏิกูลในอาหาร
มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่
เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ (กำลัง คือ ศรัทธา) หิริพละ (กำลังคือหิริ) โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) และอินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ 5 ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะช้า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ
๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ
ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕
ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕
ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลกรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร
ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะวิตก วิจาร สงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน
มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข เพราะละสุข และทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อน
บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่คือ สัทธาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ
อินทรีย์ 5 ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕
ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลกรรมทั้งหลาย
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวก เพราะวิตก วิจาร สงบระงับไป
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อน บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีสุข ไม่มี ทุกข์
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น