อาสวะทั้งหลายสิ้นไปเพราะอาศัยฌาน
1. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยปฐมฌาน
2. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยทุติยฌาน
3. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยตติยฌาน
4. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
5. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน
6. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน
7. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน
8. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
9. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะ อาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฐมฌานนั้น โดยสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร
เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง เป็นดังคนฝ่ายอื่น
เป็นสิ่งต้องแตกสลาย เป็น ของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
(ขันธ์ 5) ครั้นแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ (นิพพาน)
ว่าเป็น ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง
ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย
หากยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์ 5
ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น
ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
อาสวะสิ้นไป
เพราะอาศัยทุติยฌาน ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌาน ฯลฯ และเพราะอาศัยจตุตถฌาน ฯลฯ
ก็เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันกับการอาศัยปฐมฌาน
อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้
เพราะ อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
โดยกำหนดว่าอากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา
ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขารวิญญาณ ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น(ขันธ์
5) ครั้นแล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ (นิพพาน)ว่า ภาวะที่สงบ ประณีต
คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา
ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น
ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ
เพราะสังโยชน์ 5 ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น
จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
อาสวะสิ้นไป
เพราะ อาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน (วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่) ฯลฯ และเพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน
(ไม่มีอะไรอยู่) ฯลฯ ก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกับอาศัยอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น