ขันธ์ 5
ภิกษุทั้งหลาย
! “ขันธ์ 5” คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เพราะอะไร
จึงเรียกว่า รูป เพราะ
สลายไป จึงเรียกว่า รูป
สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
เพราะสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง
เพราะอะไร จึงเรียกว่า เวทนา เพราะ เสวยอารมณ์ เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง
เพราะอะไร จึงเรียกว่า สัญญา เพราะ จำได้หมายรู้ จำได้หมายรู้ในสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีม่วง เป็นต้น
เพราะอะไร
จึงเรียกว่า สังขาร เพราะ ปรุงแต่งสังขตธรรม
คือ รูปโดยความเป็นรูป เวทนาโดยความเป็นเวทนา
สัญญาโดยความเป็นสัญญา สังขารโดยความเป็นสังขาร วิญญาณโดยความเป็นวิญญาณ
เพราะอะไร
จึงเรียกว่า วิญญาณ เพราะ
รู้แจ้ง รู้แจ้งในรสเปรี้ยว รสหวาน รสมัน รสเค็ม รสเผ็ด รสเฝื่อน
รสฝาด รสกร่อย
รูป เปรียบดังกลุ่มของฟองน้ำ ที่เกิดจากกระแสน้ำไหล
แม่น้ำคงคาพัดพามา เกิดขึ้นแล้วก็แตกสลายไป
เวทนา
เปรียบดังฟองน้ำที่เกิดจากฝนตก เกิดแล้วดับไปเร็วพลัน
สัญญา เปรียบดังพยับแดด ระยิบระยับ หลอกหลอนผู้จำอยู่เสมอ
สังขาร เปรียบดังต้นกล้วย พอกกันอยู่เป็นชั้นๆ กลวงกลางหาแก่นมิได้
วิญญาณ เปรียบดังนักเล่นมายากล แสดงหลอกคนดู
ซึ่งหาได้เป็นจริงดังที่เห็นไม่
บุคคลที่พิจารณาเห็นขันธ์ 5 เป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตา ว่ามีขันธ์ 5 พิจารณาเห็นขันธ์ 5 ในอัตตา พิจารณาเห็นอัตตา
ในขันธ์ 5 เมื่อขันธ์ 5 ของเขาย่อยยับไป เขาก็ถึงความพินาศ
เพราะขันธ์ 5 นั้น ย่อยยับไป
เมื่ออายุ
ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ไป
เมื่อนั้น กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น
ภิกษุทั้งหลาย
! ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
โผล่พ้นน้ำแล้วตั้งอยู่ แต่ไม่ติดน้ำ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เจริญในโลก ครอบงำโลกอยู่
แต่ไม่ติดโลก
การเจริญโพธิปักขิยธรรม
37 อยู่เนืองๆ เพื่อกำจัดอาสวะ สิ้นทุกข์เพราะไม่ถือมั่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น