วิมุตติญาณ
(พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๓๑)
ปัญญาในการพิจารณาเห็น
"อุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว" ชื่อว่า วิมุตติญาณ
*** อุปกิเลสแห่งจิต
ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าอัตตาเป็นของตน)
๒.
วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
๓.
สีลัพพตปรามาส (การยึดมั่นศีลพรต)
๔.
ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ)
๕.
วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา) เป็นกิเลสที่โสดาปัตติมรรค ตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
*** อุปกิเลสแห่งจิตของตน
ได้แก่
๑. กามราคสังโยชน์
๒. ปฏิฆสังโยชน์
ส่วนหยาบๆ
๓. กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสที่สกทาคามิมรรค ตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่า หลุดพ้นแล้ว พร้อมกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่า ญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่า ปัญญา
เพราะมีสภาวะรู้ชัด ชื่อว่า วิมุตติญาณ
*** อุปกิเลสแห่งจิตของตน
ได้แก่
๑. กามราคสังโยชน์
ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียด ๆ
๒. กามราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียด ๆ เป็นกิเลสที่อนาคามิมรรค ตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่า
หลุดพ้นแล้ว พร้อมกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่า ญาณ
เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
ชื่อว่า วิมุตติญาณ
*** อุปกิเลสแห่งจิตของตน
ได้แก่
๑. รูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
๒. มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นกิเลสที่อรหัตตมรรค ตัดได้โดยเด็ดขาดแล้ว
จิตจึงชื่อว่า
หลุดพ้นแล้ว พร้อมกิเลสที่กลุ้มรุมจิต ชื่อว่า ญาณ เพราะมีสภาวะรู้วิมุตตินั้น
ชื่อว่า ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด ชื่อว่า วิมุตติญาณ
ชื่อว่า ญาณ เพราะรู้สภาวะธรรมนั้น
ชื่อว่า
ปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลส ที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่า วิมุตติญาณ ในขณะแห่งสกิทาคามิมรรค ในขณะแห่งอนาคามิมรรค และในขณะแห่งอรหัตตมรรค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น