วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิโมกข์ 3 (พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๑)



 ประตูสู่วิโมกข์ 3 ประการ
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๑)

ประตูสู่วิโมกข์ 3 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อนำออกจากโลก

1. การพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ทั้งในส่วนเบื้องต้น และเบื้องปลาย และเพราะจิตดำเนินไป ในอนิมิตตธาตุ (ไม่มีนิมิต)

2. การทำใจให้อาจหาญในสังขารทั้งปวง และเพราะจิตดำเนินไป ในอัปปณิหิตธาตุ (ไม่มีความปรารถนา)

3. การพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวง โดยความเป็นฝ่ายอื่น และเพราะจิตดำเนินไป ในสุญญตธาตุ (ความว่าง)

เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง สังขารปรากฏโดยความสิ้นไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารปรากฏ โดยความเป็นภัย
เมื่อมนสิการโดยความอนัตตา สังขารปรากฏ โดยสุญญตะ
       เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ
       เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ
       เมื่อมนสิการโดยความอนัตตา จิตมากด้วยความรู้

ผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมใจเชื่อ ย่อมได้ อนิมิตตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้มนสิการโดยความอนัตตา จิตมากด้วยความรู้ ย่อมได้สุญญตวิโมกข์


วิโมกข์ 3 มีสภาวะนำออกไปต่างกัน

บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความดับ ด้วยอำนาจแห่ง อนิมิตตวิโมกข์
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความดับ ด้วยอำนาจแห่ง อัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลผู้มนสิการโดยความอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความดับ ด้วยอำนาจแห่ง สุญญตวิโมกข์

วิโมกข์ 3 มีอาการ 7 อย่าง
ในขณะเดียวกัน

บุคคลผู้มนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะเหตุนั้นวิโมกข์นั้น จึงเป็น อนิมิตตวิโมกข์
 บุคคลพ้นจากอารมณ์ใด ย่อมไม่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้น จึงเป็น อัปปณิหิตวิโมกข์
บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้น จึงเป็น สุญญตวิโมกข์

บุคคลว่างจากนิมิตใด เป็นผู้ไม่มีนิมิต เพราะนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้นวิโมกข์นั้น จึงเป็น อนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ 3 ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ 7 ประการ คือ สภาวะประชุมลง ด้วยสภาวะบรรลุ ด้วยสภาวะได้ ด้วยสภาวะรู้แจ้ง ด้วยสภาวะทำให้แจ้ง ด้วยสภาวะถูกต้อง และด้วยสภาวะตรัสรู้อย่างนี้

ฌานวิโมกข์

บุคคลเมื่อเผา ย่อมหลุดพ้น ชื่อว่า ฌานวิโมกข์ เมื่อเผาไหม้ ย่อมหลุดพ้น ชื่อว่า ฌานวิโมกข์ กิเลสทั้งหลายย่อมไหม้ไป ชื่อว่า ธรรม พระอรหันต์ย่อมเผากิเลสทั้งหลาย คือ รู้จักกิเลสที่เผาแล้ว และกิเลสที่กำลังถูกเผาให้ไหม้ไป เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ฌานวิโมกข์


การเจริญวิโมกข์ 3

การปฏิบัติ การเจริญ การทำให้มาก ซึ่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค นี้เป็นการเจริญวิโมกข์ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น