ศีลมีที่สุด และไม่มีที่สุด
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๑)
ศีลเป็นที่รวมแห่งความสำรวม
เป็นที่รวมแห่งความไม่ละเมิด เป็นที่รวมแห่งเจตนาที่เกิดในขณะสำรวม
และไม่ล่วงละเมิดนั้น
การละเมิดศีลมีที่สุดเกิดขึ้น
เพราะมีลาภเป็นที่สุดก็มี มียศเป็นที่สุดก็มี
มีญาติเป็นที่สุดก็มี มีอวัยวะเป็นที่สุดก็มี
และมีชีวิตเป็นที่สุดก็มี
ศีลไม่มีที่สุด
คือ การไม่ละเมิดศีล เพราะมีลาภเป็นเหตุ มียศเป็นเหตุ มีญาติเป็นเหตุ มีอวัยวะเป็นเหตุ
และมีชีวิตเป็นเหตุ
สำรวมไม่ล่วงละเมิด
กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)
ด้วย เนกขัมมะ (การหลีกออกจากกาม)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด พยาบาท(ความคิดร้าย) ด้วย อพยาบาท ชื่อว่า
ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด ถีนมิทธะ (ความหดหู่) ด้วย อาโลกสัญญา (การกำหนดหมายแสงสว่าง) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ด้วย ธัมมววัตถาน (การกำหนดธรรม) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อวิชชา ด้วย ญาณ ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด นิวรณ์ ด้วย ปฐมฌาน
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด วิตกวิจาร ด้วย ทุติยฌาน
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด ปีติ ด้วย ตติยฌาน
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สุข ด้วย จตุตถฌาน
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด รูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
นานัตตสัญญา(ความหมายรู้ภาวะต่างกัน)
ด้วย อากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วย วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วย อากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อากิญจัญญายตนสมาบัติ ด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด นิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าเที่ยง) ด้วย อนิจจานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สุขสัญญา
ด้วย ทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อัตตสัญญา (ความหมายรู้อัตตา) ด้วย อนัตตานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด นันทิ (ความยินดี) ด้วย นิพพิทานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด ราคะสัญญา(ความหมายรู้ความกำหนัด) ด้วย วิราคานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความสิ้นกำหนัด) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สมุทัย ด้วย นิโรธานุปัสสนา
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อาทานะ(ความยึดถือ) ด้วย ปฏินิสสัคคานุปัสสนา(พิจารณาเห็นความสละคืน)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด ฆนสัญญา (ความสำคัญเป็นก้อน) ด้วยขยานุปัสสนา (พิจารณาเห็นธรรมเป็นที่สิ้นไป)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อายุหนะสัญญา(กรรมเป็นเครื่องประมวลมา) ด้วย วยานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความเสื่อมไป) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด ธุวสัญญา(ความหมายรู้ว่ามั่นคง) ด้วยวิปริณามานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความแปรปรวน เปลี่ยนแปรเรื่อยไป) ชื่อว่า
ศีล
สำรวมไม่ล่วงละเมิด
ปณิธิ(ความตั้งมั่น)
ด้วย อัปปณิหิตานุปัสสนา (พิจารณาเห็นทุกข์) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อภินิเวส (ความยึดมั่น) ด้วย สุญญตานุปัสสนา (พิจารณาเห็นความว่าง)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นว่าเป็นแก่นสาร) ด้วย อธิปัญญาธัมมนุปัสสนา(พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นเพราะความหลง) ด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อาลยาภินิเวส
(ความยึดมั่นด้วยความอาลัย) ด้วย อาทีนวานุปัสสนา (พิจารณาคำนึงเห็นโทษ) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด อัปปฏิสังขาร (การไม่พิจารณา) ด้วยปฏิสังขารนุปัสสนา (พิจารณาเห็นทางพ้นไปเสีย)
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด สัญโญคาภินิเวส ( ยึดมั่นเพราะกิเลสเครื่องประกอบ) ด้วย วิวัฏฏนานุปัสสนา (พิจารณาเห็นแจ้งในกิเลส กรรม วิบาก) ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด กิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฏฐิ
ได้ด้วยธรรมที่เกิดด้วยอำนาจ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด กิเลสอย่างหยาบ ได้ด้วยธรรมที่เกิดด้วยอำนาจ สกทาคามิมรรค
ชื่อว่า ศีล
สำรวม
ไม่ล่วงละเมิด กิเลสอย่างละเอียด ได้ด้วยธรรมที่เกิดด้วยอำนาจ อนาคามิมรรค
ชื่อว่า ศีล
สำรวมไม่ล่วงละเมิด
กิเลสทั้งปวง ได้ด้วยธรรมที่เกิดด้วยอำนาจ อรหัตตมรรค ชื่อว่า
ศีล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น