ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์
ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสีว่า
ภิกษุทั้งหลาย
! “ที่สุด
๒ อย่างนี้ บรรพชิตไม่พึงเสพ”
๑.กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย ( ความหมกมุ่นอยู่ในกามสุขทั้งหลาย)
เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒.อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) เป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย
! มัชฌิมาปฏิปทาไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด
๒ อย่างนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้
อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ (ปัญญาจักษุ) ก่อให้เกิดญาณ
เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทานั้น
ได้แก่ “อริยมรรคมีองค์
๘”
นี้แหละ คือ
๑.สัมมาทิฏฐิ
(เห็นชอบ)
๒.สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
๓.สัมมาวาจา
(เจรจาชอบ)
๔.สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
๕.สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
๖.สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
๗.สัมมาสติ
(ระลึกชอบ)
๘.สัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ
ภิกษุทั้งหลาย
! ข้อนี้เป็น ทุกขอริยสัจ คือ
แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์
แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา
ก็เป็นทุกข์ “โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็น ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ
ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความกำหนัด
มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ
กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)
ภวตัณหา(ความทะยานอยากในภพ เป็นนั่น เป็นนี่ อยากคงอยู่ตลอดไป)
วิภวตัณหา(ความทะยานอยากในวิภพ อยากพรากพ้นจากตัวตน
อันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ)
ภิกษุทั้งหลาย
! ข้อนี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละทิ้ง ความพ้น
ความไม่อาลัยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย
! ข้อนี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย
! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่านี้ ทุกขอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ
ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ
ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย
! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่านี้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ ควรละเสีย
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย
! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่านี้ ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย
! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่านี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรเจริญ
ภิกษุทั้งหลาย
! ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ให้เจริญแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย
! ญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔
เหล่านี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดี ตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า
เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก กับทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ตราบนั้น
ภิกษุทั้งหลาย
! เมื่อใด ความรู้เห็นตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ
๔ เหล่านี้ ๓ รอบ ๑๒ อาการ อย่างนี้ ฯลฯ ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
และมนุษย์ ญาณทัสสนะเกิดแก่เราว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก”
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวยกรณ์นี้อยู่
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับไปเป็นธรรมดา”
ครั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว
ทวยเทพชั้นภูมิเทวดากระจายข่าวไปว่า “นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลก ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพชั้น จาตุมหาราชิกา สดับเสียงของทวยเทพชั้นภูมิเทวดาแล้วกระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ฯลฯ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพชั้น
ดาวดึงส์ สดับเสียงของทวยเทพชั้นจาตุมหาราชิกาแล้วกระจายข่าวต่อไปว่า
“ นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม
ฯลฯ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพชั้น
ยามา สดับเสียงของทวยเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว กระจายข่าวต่อไปว่า
"นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ฯลฯ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพชั้น
ดุสิต สดับเสียงของทวยเทพชั้นยามาแล้ว กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น
! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ฯลฯ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้"
ทวยเทพชั้น
นิมมานรดี
สดับเสียงของทวยเทพชั้นดุสิตแล้ว กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ฯลฯ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตดี สดับเสียงของทวยเทพชั้นนิมมานรดีแล้วกระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ฯลฯ อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก
ให้หมุนกลับมิได้”
ทวยเทพที่นับเนื่องใน หมู่พรหม สดับเสียงของทวยเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี แล้วก็กระจายข่าวต่อไปว่า “นั่น ! พระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปแล้ว
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ
ในโลก ให้หมุนกลับมิได้”
เพียงครู่เดียวเท่านั้น
เสียงป่าวประกาศได้กระจายไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุ
ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น แสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ ก็ปรากฏในโลก
ล่วงเทวนุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งพระอุทานว่า “ผู้เจริญทั้งหลายโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ !
โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ! ”
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว
บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว
ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
ในคำสอนของบรมพระศาสดา ได้กราบทูลขอบรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
“ เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวไว้ ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบเถิด”
ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือด้วยธรรมีกถาธรรมจักษุ
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระวัปปะ และท่านพระภัททิยะว่า “ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับไป เป็นธรรมดา”
ท่านทั้ง
๒ ได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
ในคำสอนของบรมพระศาสดา ได้ทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
“ เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า “ธรรมอันเรากล่าวไว้ ดีแล้ว
เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบเถิด”
ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือด้วยธรรมีกถาธรรมจักษุ
ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระมหานามะ และท่านพระอัสสชิว่า “ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับไป เป็นธรรมดา”
ท่านทั้ง
๒ ได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว
ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
ในคำสอนของบรมพระศาสดา ได้ทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
“เธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า “ ธรรมอันเรากล่าวไว้ ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์
โดยชอบเถิด”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น