วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า



คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า 



บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน  ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น  ภิกษุรู้โทษนี้แล้ว รู้ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดแห่งทุกข์  พึงเป็นผู้ไม่มีตัณหา ไม่มีความถือมั่น  มีสติงดเว้นได้  

 เนื้อในป่า มิได้ถูกผูกมัดไว้   ย่อมไปหาอาหารได้ตามความพอใจ ฉันใด วิญญูชนเมื่อเห็นธรรมที่ให้ถึงความเสรี  จึงประพฤติอยู่ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉันนั้น 
(แรด เป็นสัตว์มีนอเดียว)

                                     

กรรมภพ



กรรมภพ 

 กรรมภพ 3 ได้แก่
1. ปุญญาภิสังขาร    สังขารที่เป็นบุญ  ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
                           กุศลเจตนาทั้งหลาย
2. อปุญญาภิสังขาร  สังขารที่เป็นบาป ปรุงแต่งกรรม
                           ฝ่ายชั่ว อกุศลเจตนาทั้งหลาย
3. อาเนญชาภิสังขาร สภาพปรุงแต่งภพอันมั่นคง
                            ไม่หวั่นไหวด้วยสมาธิ ได้แก่
                            จตุตถฌาน

                                     

กาย



กาย



ภิกษุทั้งหลาย  !  กายนี้มิใช่ของพวกเธอ  ทั้งมิใช่ของผู้อื่น  กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้  จิตประมวลไว้   พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว  ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทโดยแยบคายในกายนั้นว่า 

เพราะเหตุนี้  เมื่อสิ่งนี้มี  สิ่งนี้จึงมี  เพราะสิ่งนี้เกิด  สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  เพราะสิ่งนี้ไม่มี  สิ่งนี้จึงไม่มี  เพราะสิ่งนี้ดับไป  สิ่งนี้จึงดับไป 

พิจารณาความว่างเปล่า 10 อย่าง



พิจารณาความว่างเปล่า 10 อย่าง

บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดย  ความว่างเปล่า ด้วยอาการ 10 อย่าง คือ  พิจารณาเห็นรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ
      1.    โดยความเป็นของว่าง
      2.    โดยความเป็นของเปล่า
      3.    โดยความเป็นของสูญ
      4.    โดยความเป็นอนัตตา
      5.    โดยความไม่มีแก่นสาร
      6.    โดยความเป็นดุจเพชฌฆาต
      7.    โดยความเป็นของปราศจากความเจริญ
      8.    โดยความเป็นเหตุแห่งความลำบาก
      9.    โดยความเป็นของมีอาสวะ
      10.  โดยความเป็นของที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง


ปัญหา ๑๖ มาณพ อชิตมาณพ



ปัญหาอชิตมาณพ



อชิตมาณพ เป็นหัวหน้าศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
๑. โลกคือหมู่สัตว์ ถูกอะไรห่อหุ้มไว้  อะไรเป็นเหตุจึงไม่มีปัญญามองเห็น โลกไม่สดใสเพราะอะไร อะไรเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ให้สัตว์โลกติดอยู่ และอะไรเป็นภัยใหญ่หลวงของโลกนั้น ? 
   พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาว่า  

   อชิตะ ! เธอจงรู้เถิดว่า  อวิชชาเป็นศีรษะ  โลกถูกอวิชชาห่อหุ้มไว้  คือความไม่รู้ปิดบังไว้  วิชชาที่ประกอบด้วยสัทธา  สติ  สมาธิ  ฉันทะ และวิริยะ เป็นธรรมที่ทำให้ศีรษะตกไป
 โลกไม่สดใสเพราะความตระหนี่ และความประมาท   เราเรียก ความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้  ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก  
๒. อะไรเป็นเครื่องห้าม เครื่องปิดบังความอยาก ซึ่งเป็นดุจกระแสน้ำหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง จะละความอยากได้ด้วยธรรมอะไร ?
   พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาว่า 

กระแสเหล่าใดในโลก  สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้นได้  เรากล่าวธรรมเครื่องป้องกันกระแสทั้งหลาย  ปัญญาปิดกั้นกระแสทั้งหลายเหล่านั้นได้
๓. ปัญญา สติ นามรูปนั้น จะดับไปมีส่วนเหลือในที่ใด ณ ที่ใด ?
 พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาว่า  
 เพราะวิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับไป ในที่นั้น ฯ
๔. ชนผู้เห็นธรรมแล้ว และผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้ยังมีอีกมาก ขอกราบทูลถามความประพฤติของปวงชนพวกนั้น ?
พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาว่า
ภิกษุผู้เห็นธรรมแล้ว และผู้ยังศึกษาอยู่ เป็นคนไม่มีความกำหนัดยินดีในกามคุณทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอิริยาบถ ฯ


( ความตระหนี่ ได้แก่ มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ ที่อยู่  ตระกูล  ลาภ วรรณะ  และธรรม)