วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

สุญญตาในภายใน



สุญญตาในภายใน 

พระตถาคตเจ้าเข้า สุญญตาในภายใน  เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวง  ทรงยินดีในวิเวก ในเนกขัมมะ  สิ้นสุดจากธรรมที่อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ  โดยประการทั้งปวง 

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน...บรรลุทุติยฌาน...บรรลุตติยฌาน...บรรลุจตุตถฌาน...ด้วยการใส่ใจสุญญตาในภายใน  จิตจึงไม่แล่นไป  ไม่เลื่อมใส  ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาภายใน 

สาวกควรติดตามศาสดาอย่างใกล้ชิด  เพื่อฟังเรื่อง "ความมักน้อย  ความสันโดษ  ความสงัด  ความไม่คลุกคลีกัน  ความปรารภความเพียร เรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะ"  ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง  เป็นสัปปายะแห่งจิต   เพื่อความเบื่อหน่าย  เพื่อคลายกำหนัด  เพื่อดับ  เพื่อสงบระงับ  เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้  เพื่อนิพพาน

สิ่งทั้งปวง



สิ่งทั้งปวง


ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งทั้งปวง หมายถึง จักขุ - รูป,   โสตะ -เสียง, ฆานะ -กลิ่น, ชิวหา - ลิ้น, กาย - โผฏฐัพพสัมผัส, มโน - ธรรมารมณ์

ธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง ได้แก่ จักขุ-รูป, โสตะ- เสียง, ฆานะ- กลิ่น, ชิวหา - ลิ้น, กาย - โผฏฐัพพสัมผัส, มโน- ธรรมารมณ์

จักขุกระทบรูป เกิดจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณ เกิดจากจักขุสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากจักขุสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

โสตะกระทบเสียง เกิดโสตวิญญาณ โสตวิญญาณ เกิดจากโสตสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากโสตสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

ฆานะกระทบกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ฆานวิญญาณ เกิดจากฆานสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากฆานสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

ชิวหากระทบรส เกิดชิวหาวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ เกิดจากชิวหาสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากชิวหาสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

กายกระทบโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ กายวิญญาณ เกิดจากกายสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากกายสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

มโนรู้แจ้งธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ มโนวิญญาณ เกิดจากมโนสัมผัส แม้ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ที่เกิดจากมโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ควรละ

สิ่งที่ควรพิจารณาเห็น



สิ่งที่ควรพิจารณาเห็น

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุควรพิจารณาเห็นธรรมตามความเป็นจริง

ความกำหนดหมาย  เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ความหวั่นไหว        เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ความดิ้นรน           เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
ความปรุงแต่ง        เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร


ความถือตัว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ได้แก่ เรามี เราเป็นนี้ เราจักมี เราจักไม่มี เราจักเป็นรูป เราจักเป็นผู้ไม่มีรูป เราจักเป็นผู้มีสัญญา เราจักไม่เป็นผู้มีสัญญา เราจักเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


สิ่งที่ควรเห็น ภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์, พึงเห็นทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร, พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความไม่เที่ยง ถอนตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์แล้ว ไม่มีอาสวะ ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะโดยชอบ






สัตว์ท่องเที่ยวในโลก


สัตว์ท่องเที่ยวในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ! โลก(สัตว์โลก) มีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูกไว้ วิตกเป็นเหตุเที่ยวไปของโลกนั้น เพราะละตัณหาได้ จึงตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด (นิพพาน)


โลก(สัตว์) ถูกมัจจุราชกำจัด ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศร คือตัณหาเสียบไว้ ถูกความอยากเผาให้ร้อน ตลอดกาลทุกเมื่อ


เมื่ออายตนะ 6 เกิด โลก(สัตว์)จึงเกิด โลกทำความเชยชมในอายตนะ 6 โลกยึดอายตนะ 6 นั่นแล โลกเดือดร้อน เพราะอายตนะ 6



ผลการห้ามผู้อื่นให้ทาน


ผลการห้ามผู้อื่นให้ทาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ 3อย่าง
๑. ทำอันตรายแก่ บุญของทายก (ผู้ให้)
๒. ทำอันตรายแก่ ลาภของปฏิคาหก (ผู้รับ)
๓. ในเบื้องต้นตัวเขาเองย่อมถูกกำจัด และถูกทำลาย




บุคคลพูดภาษาคูถ




บุคคลพูดภาษาคูถ
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล 3 จำพวก

1.บุคคลพูดภาษาคูถ คือ บุคคลที่รู้ แต่กล่าวว่าไม่รู้, ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้, กล่าวเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุ เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุ เพราะเห็นแก่อามิส

2. บุคคลพูดภาษาดอกไม้ คือ บุคคลที่รู้ ก็กล่าวว่ารู้, ไม่รู้ ก็กล่าวว่าไม่รู้, ไม่กล่าวเท็จ เพราะตนเป็นเหตุ เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุ เพราะเห็นแก่อามิส

3.บุคคลพูดภาษาน้ำผึ้ง คือ บุคคลที่เว้นพูดคำหยาบคาย พูดด้วยถ้อยคำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ






นิมิตที่มีคุณ และมีโทษ





นิมิตที่มีคุณ และมีโทษ

      ภิกษุทั้งหลาย ! สุภนิมิต(นิมิตที่งาม)เมื่อมนสิการ (การใส่ใจ พิจารณา)ไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น  ที่เกิดแล้วก็ยิ่งเจริญไพบูลย์

อสุภนิมิต (นิมิตที่ไม่งาม) เมื่อมนสิการโดยแยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น  ที่เกิดแล้วก็ละได้

ปฏิฆะนิมิต (ความแค้นเคือง, หงุดหงิด) เมื่อมนสิการไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น  ที่เกิดแล้วก็ยิ่งเจริญไพบูลย์

เมตตาเจโตวิมุตติ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น  ที่เกิดแล้วก็ละได้

อโยนิโสมนสิการ (การไม่พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง) เมื่อมนสิการไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น  ที่เกิดแล้วก็ยิ่งเจริญไพบูลย์

โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง) เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็ละได้